หน้าเว็บ

วิสัยทัศน์/พันธกิจ

  • วิสัยทัศน์

          โรงพยาบาลคุณภาพ ทันสมัย ประทับใจผู้ใช้บริการ
  • พันธกิจ

          จัดบริการสุขภาพองค์รวมแบบบูรณการกับเครือข่ายบริการสุขภาพทุกระดับอย่างมีคุณภาพ ภายใต้การบริหารจัดการระบบสนับสนุน ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
  • จุดมุ่งหมาย

          ประชาชนในจังหวัดนครนายก และผู้มาใช้บริการมีสุขภาวะ ไว้วางใจ เชื่อมั่นศรัทธา ในระบบบริการสุขภาพ
  • เป้าประสงค์

           ♦ ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐาน มีความพึงพอใจและไว้วางใจ
           ♦ เครือข่ายทุกภาคส่วนและประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพ
           ♦ ระบบบริหารจัดการ ระบบสนับสนุนมีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ และหลักธรรมาภิบาล
           ♦ ระบบสารสนเทศและการจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพ ครบถ้วน ถูกต้อง และทันเวลา
           ♦ องค์กรมีระบบบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีสมรรถนะเพียงพอใการปฏิบัติงานและเรียนรู้ต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
           ♦ องค์กรมีเสถียรภาพการเงินการคลัง
  • กลยุทธ์หลักและกลยุทธ์รอง

          1. พัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีคุณภาพมาตรฐานครอบคลุมระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิระดับสูง รวมทั้งพัฒนาระบบส่งต่อทั้งภายในและภายนอกเครือข่าย
                1.1 พัฒนาศักยภาพและคุณภาพการรักษาพยาบาลโดยใช้การจัดการรายโรคในโรคที่สำคัญและบริการจัดการพิเศษเฉพาะกลุ่มในบางกลุ่มเป้าหมาย
                1.2 พัฒนาระบบส่งต่อทั้งภายในเครือข่าย (สอ./PCU/รพช. รพท.) และ ภายนอกเครือข่าย (รพท. รพศ./excellent center ) 
                1.3 พัฒนาระบบบริการด่านหน้าให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ถูกต้อง และประทับใจผู้ใช้บริการ 
                1.4 พัฒนาระบบบริการสุขภาพเชิงรุก ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและปัญหาของพื้นที่ 
                1.5 พัฒนาระบบการรักษาแบบประคับประคอง (palliative care) และการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (End of life care) 
                1.6 เน้นการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในประชาชนกลุ่มเป้าหมายและอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ 
          2. เร่งรัดการพัฒนาคุณภาพโดยบูรณาการทุกระดับคุณภาพ (PMQA/HA/HPH/QA)
          3.พัฒนาระบบบริหารจัดการระบบสนับสนุนให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐและหลักธรรมาภิบาล
          4. พัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคล ตาม พรบ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน ปี 2551
                4.1 พัฒนาคุณภาพบุคลากร ให้มีสมรรถนะตามเกณฑ์ และเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
                4.2 พัฒนาระบบประเมินผลการปฏิบัติงานให้มีปรพะสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นธรรมและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
                4.3 สร้างวัฒนธรรมและบรรยากาศองค์กรให้มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข 
                4.4 ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ต่อเนื่อง การจัดการความรู้ (KM) สร้างสรรค์นวัตกรรมและการวิจัยในงานประจำ (R2R) เพื่อนำไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ 
          5. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและเวชระเบียน รวมทั้งการจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ ครบถ้วน ถูกต้อง และทันเวลา 
          6. เพิ่มเสถียรภาพการเงินการคลัง 
                6.1 เพิ่มรายรับ 
                      6.1.1 ระบบสวัสดิการข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ 
                      6.1.2 กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UC) 
                      6.1.3 กองทุนประกันสังคม 
                      6.1.4 พรบ. ผู้ประสบภัยจากรถ 
                      6.1.5 ระบบประกันสุขภาพภาคเอกชน 
                      6.1.6 บริการตรวจสุขภาพเชิงรุก 
                      6.1.7 อื่นๆ เช่น คลินิกพิเศษนอกเวลา การแพทย์แผนไทยและการแทย์ทางเลือก เป็นต้น 
                6.2 ทบทวนประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร (UM/UR) และลดความสูญเสีย (Lean Management) 
                      6.2.1 ยา / LAB / การส่งตรวจวินิจฉัยพิเศษ / เลือด 
                      6.2.2 วัสดุทางการแพทย์ 
                      6.2.3 อุปกรณ์และอวัยวะเทียม 
                      6.2.4 วัสดุทั่วไป 
                      6.2.5 ค่าสาธารณูปโภค 
                      6.2.6 ค่าตอบแทน 
                      6.2.7 ระบบซ่อมบำรุง 
                6.3เพิ่มประสิทธิภาพการเรียกเก็บและการติดตามหนี้ 
          7. ขยายความร่วมมือกับเครือข่ายทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน สื่อสารมวลชน และภาคประชาชน ให้มีส่วนร่วมในการดุแลและสร้างเสริมสุขภาพ รวมทั้งเผยแพร่ข่าวสารด้านสุขภาพและประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น